Notifications
Clear all

[Solved] มั่นใจ+ไม่ยอมแพ้ เกือบ 40 ปี เหลือแค่ 42 วัน

3 Posts
2 Users
1 Reactions
71 Views
(@natdanai-ssiampiwat-com)
Active Member
Joined: 2 years ago
Posts: 8
Topic starter  

มั่นใจ+ไม่ยอมแพ้ เกือบ 40 ปี เหลือแค่ 42 วัน

สวัสดีสมาชิกชาววิศวกรรมทุกท่านครับ เรื่องที่ผู้เขียนในหมวด Technology จะโพสต์วันนี้ เป็นเรื่องที่เราทุกคนได้เจอกันในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บางคนได้ยินผ่านๆ บางคนเคยพูดถึงมัน หรือ แม้กระทั่งบางคนได้นำมาเข้าร่างด้วย ใช่ครับสิ่งนั้นคือ เหล้า เอ้ย เบียร์ เอ้ย วัคซีน mRNA เอ๊ย ถูกแล้ว (3 บาท 5 บาทก็เอา)

 

ครับ เรื่องวัคซีน mRNA ซึ่งหลายคนมองว่า มาพูดถึงตอนนี้คงจะช้าไปหน่อย แต่ถ้าปล่อยไว้นานกว่านี้ ก็จะสายไปแล้ว งั้นเลยเอามาเล่าเลยละกัน

 

ผมค่อนข้างแน่ใจว่า พนักงานสายงานวิศวกรรมเราฉีดวัคซีน Covid-19 กัน 2-3 เข็ม แล้วแน่นอน และอย่างน้อย หนึ่งในนั้นเป็นวัคซีนแบบ mRNA เช่น Moderna, Pfizer เป็นต้น โดยวัคซีน Covid-19 ที่ใช้กันอยู่ อ้างอิงตามเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO จะมีอยู่ 3 แบบหลัก ได้แก่

  1. แบบใช้ทั้งตัวไวรัส เป็นต้นแบบ ทำให้อ่อนลง หรือทำให้ตาย แล้วไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน (The whole-microbe approach)
  2. แบบใช้บางส่วนของไวรัส ไปส่งสัญญาณให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน (The subunit approach)
  3. แบบใช้แค่ รหัสพันธุกรรม ไปบอกให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่ง mRNA คือแบบนี้นี่เอง (The genetic approach)

 

แล้วแต่ละชนิด ก็จะแยกย่อยลงไปอีกที ซึ่งวันนี้ เรื่องที่จะแชร์ก็คือแบบ mRNA ว่ามันเป็นอย่างไรกัน

 

ก่อนเข้าเรื่อง เรื่องที่มาแชร์นี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะบอกว่า วัคซีนชนิดไหนดีหรือไม่ดีนะครับ แค่มาแชร์มาเล่าสู่กันฟัง และเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องแรกที่นำมาลงใน Forum ขอกำลังใจกันด้วยนะครับ

 

ความหมาย

mRNA ย่อมาจาก Messenger Ribonucleic Acid เป็นสารพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่อยู่ในสิ่งมีชีวิตอยู่แล้ว ในตัวคนเราก็มี ผมก็มี โดย mRNA จะทำหน้าที่ออกคำสั่งให้เซลล์ผลิตโปรตีนขึ้นตามรหัสคำสั่งนั้นๆ

 

หลักการทำงานของวัคซีน mRNA

เมื่อเรารู้หน้าที่ของ mRNA แล้ว นักวิทยาศาสตร์ก็ใช้ประโยชน์จากจุดนี้มาทำวัคซีน โดยในเมื่อมันออกคำสั่งให้เซลล์สร้างโปรตีน ดังนั้น ก็จับมันมาสร้างโปรตีนส่วนที่เป็นปุ่มหนามของเจ้าไวรัส Covid ซะเลย เป็นไงล่ะ (ตัวไวรัส Covid-19 มีหนาม และ หนามเป็นโปรตีน)

เมื่อเราฉีดวัคซีนเข้าไป mRNA จะไปบอกให้เซลล์ร่างการผลิตโปรตีนปุ่มหนามที่ว่านี้ เมื่อผลิตมาแล้วก็เปรียบเหมือนเป็นไวรัสจำลอง เกิดขึ้นในร่างกาย ร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมานั่นเอง

 

ข้อดี

ข้อดีของ mRNA เมื่อเทียบกับแบบใช้ไวรัสทั้งตัว คือ แบบเก่า ต้องเพาะเลี้ยงไวรัสขึ้นมาก่อน (ฟาร์ม) แล้วก็ทำให้ตาย แล้วค่อยฉีดซึ่งใช้เวลาและงบประมาณ เมื่อเชื้อกลายพันธ์ก็ต้องมาฟาร์มกันใหม่ แต่แบบ mRNA นักวิทยาศาสตร์ก็แค่ปรับแต่งพันธุกรรมให้ตรงกับ ไวรัสสายพันธ์ที่เปลี่ยนไปเท่านั้น แล้วก็ผลิตใหม่ จึงทำให้ผลิตได้ค่อนข้างเร็ว

 

ข้อเสีย

เท่าที่หาข้อมูล เบื้องต้น มีข้อมูลเพียงแค่ว่า ต้องเก็บรักษาและขนส่ง วัคซีนที่อุณหภูมิต่ำมาก รวมไปถึงอาจมีอาการไม่พึงประสงค์บางอย่างหลังฉีด แต่ก็ยังต้องศึกษากันอีกมากครับ

กว่า วัคซีน mRNA จะวิจัยกันออกมาได้ ใช้เวลาร่วมๆ 40 ปี ใช้เงินทุนและเวลาวิจัยไปมากมาย แต่ผมคิดว่าผลที่ได้คุ้มค่านะครับ เพราะนอกจาก Covid-19 แล้ว ยังใช้กับไวรัส หรือแบคทีเรีย อื่นๆ ได้อีกด้วย เชื่อหรือไม่ว่า ในตอนแรกสุด นักวิจัยผู้คิดค้นตั้งใจจะให้เป็นยารักษามะเร็ง และ วัคซีนต้านเชื้อไวรัสเอดส์ นะครับ

 

ภาพแนบ ตัวอย่างของวัคซีนแต่ละแบบ

ทำไมคิดกันตั้งเกือบ 40 ปี แล้วทำไมมาเสร็จเอาตอนนี้พอดี?

ผู้คิดค้นชื่อ ดร.เคทลิน คาริโก (Dr.Katalin Kariko) และ ดร.ดรู ไวส์แมน (Dr.Drew Weissman) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐเพนซิลเวเนียสหรัฐอเมริกา โดย ดร.เคทลิน เป็นชาวฮังการีโดยกำเนิด ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชื่ออย่างแรงกล้าว่า mRNA จะสามารถนำมาใช้ในการสร้างยารักษาโรค และ วัคซีนป้องกันโรค ในมนุษย์ได้ (คิดได้ไง) โดย ดร.เคทลิน เริ่มต้นวิจัยตั้งแต่ปี 1985 (พ.ศ.2528)

 

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้การวิจัยเป็นไปได้ช้า ได้แก่

  • ณ ขณะนั้น ข้อมูลที่เกี่ยวกับ mRNA ยังมีน้อย
  • การสังเคราะห์ mRNA ทำได้ยากในยุคนั้น
  • ไม่มีใครเชื่อในแนวคิดของ ดร.เคทลิน (พอไม่มีใครเชื่อ ก็มักจะไม่ค่อยมีทุนวิจัย)
  • เปลี่ยนผู้ร่วมทำงานวิจัยบ่อย (เหตุผลเดียวกับข้อบน)

 

ต่อมาพอได้พบกับ ดร.ดรู ซึ่งเป็นนักวิจัยที่สนใจเรื่องวัคซีนต้านโรคเอดส์ จึงได้ทำวิจัยร่วมกันต่อมา จนกระทั่งในปี 2019 เมื่อทีมวิจัยกำลังวิจัยยารักษามะเร็งอยู่ โดยกำลังอยู่ในขั้นทดลองกับมนุษย์ เมื่อปลายปี 2019 โรค Covid-19 มีการระบาดใหญ่ขึ้นมา ทางทีมผู้วิจัยจึงได้เบนเข็มมาพัฒนาวัคซีน Covid-19 แทนและได้รับการอนุมัติให้ทดลองและผลิตอย่างเร่งด่วนเป็นกรณีฉุกเฉิน จากองค์การอนามัยโลก โดยวัคซีน Covid-19 ต้นแบบแรก มีชื่อว่า mRNA-1273 ใช้เวลาวิจัยและพัฒนา 42 วัน ไม่นับการทดลอง และได้มาเป็น  Moderna, Pfizer ที่เราฉีดกันนี่เอง

 

ภาพแนบ ภาพกลุ่มนักวิทยาศาตร์ที่คิดค้นวัคซีน Covid-19 แบบ mRNA บนปกนิตยาสาร TIME วันที่ 27/12/2021 เรียงจากบนลงล่าง ได้แก่ ดร.เคทลิน คาริโก, ดร.ดรู ไวส์แมน, ดร.บาร์นีย์ แกรห์ม และ ดร.คิสมีเกีย คอร์เบ็ตต์ ตามลำดับ

 

สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนแบบไหน ยี่ห้ออะไร ผมมีความเห็นว่าควรฉีดนะครับ เพื่อป้องกัน หรือ อย่างน้อยก็ผ่อนหนักเป็นเบา

 

ครั้นจะหวังพึ่งวัคซีนอย่างเดียวก็คงจะไม่ถูกนะครับ ต่อให้ฉีด 10 เข็ม แต่ยังไปตื้ดหรือไปมีพฤติกรรมเสี่ยง ผมว่าก็ติดอยู่ดี แน่นอนว่าการป้องกันที่เป็นพื้นฐานที่สุด คือ การหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงตลอดเวลา, ทานอาหารมีประโยชน์, พักผ่อน และ ออกกำลังกาย เท่านี้ก็จะเป็นการป้องกันเสริมนอกเหนือจากวัคซีนที่ดีที่สุด โดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมากแล้วครับ

 

สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ ผมก็ขอขอบคุณมากครับ ที่ไปด้วยกันใน Topic แรกของผม อย่าลืมติดตามผลงานอย่างต่อเนื่องนะครับ

 

ขอบคุณครับ

 

#mRNA

 

References

 


   
Quote
(@chomkwan-psiampiwat-com)
ก่อนจะสุข ต้องผ่านพุธ พฤหัสมาก่อนนะ 😉😉
Joined: 3 years ago
Posts: 28
 

ถ้าสำเร็จจนได้เป็นยารักษามะเร็ง และ วัคซีนต้านเชื้อไวรัสเอดส์ นี่คือดีมากเลยอ่ะ


(@natdanai-ssiampiwat-com)
Active Member
Joined: 2 years ago
Posts: 8
Topic starter  

@chomkwan-psiampiwat-com 

ล่าสุด มีการวิจัยนำเอาเชื้อไวรัสมารักษามะเร็งครับ ผลออกมาดีซะด้วย แต่ทำไมผมรู้สึกไม่ดีเลยครับ

ถ้าให้เลือกระหว่าง mRNA กับไวรัส ผมเลือก mRNA นะ


   
ReplyQuote