Notifications
Clear all

ใส่หัวใจลงไปให้ทีมงานมากกว่าเอาแต่ผลงาน งานยากงานตึงแค่ไหน ก็แค่ขนมกรุบ

1 Posts
1 Users
1 Reactions
99 Views
(@natdanai-ssiampiwat-com)
Active Member
Joined: 2 years ago
Posts: 8
Topic starter  

<img src='https://www.i-pic.info/i/H7QO298130.jpg'></a>


1.อะไรบ้างที่ทำให้งานสำเร็จ

สวัสดีชาววิศวกรรรม ทุกท่านครับ เรื่องราวของวันนี้ดูจะห่างไกลเทคโนโลยีไปหน่อย แต่ก็คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนพี่น้องทุกคน

 

เคยรู้สึกหรือไม่ครับว่า งานที่เราทำ ทำไมมันยากจัง ทำไมมันซับซ้อน แล้วเราจะไปปรึกษาใครดี จะไปหาคำตอบ ที่ไหนดี

 

คิดในแง่นึง คือ ถ้ามันง่ายเขาคงไม่จ้างเรามาแก้มาทำไง จริงหรือไม่ครับ อ่ะแต่ถ้าคิดในอีกมุมหนึ่งการจะทำอะไรที่ยากๆ เราต้องมีตัวแปรอะไรบ้างล่ะ ที่จะทำให้สำเร็จ อาทิเช่น

1.การขวนขวาย ทำการบ้าน

2.การเอางานไปให้นายดูบ่อยๆ (จะได้รู้ว่าผิดตรงไหน)

3.การขอคำปรึกษา จากผู้รู้

4.กำลังใจ/พลังใจ/อารมณ์ร่วม

 

ใช่ครับ ไม่อ้อมค้อมมาก ดูจากชื่อเรื่องวันนี้ ผมมาพูดในตัวแปรที่ 4 ครับกำลังใจ/พลังใจ/อารมณ์ร่วม และ พลังทางบวก

 

2.Match ประวัติศาสตร์ของทีมชาติซาอุดิอาระเบีย

ช่วงที่กำลังเขียนอยู่นี้ เป็นช่วงฟุตบอลโลก 2022 พอดี โดยคู่ที่ฮือฮาที่สุด ( ขณะนี้) คือ การแข่งขันระหว่าง อาร์เจนตินา พบ ซาอุดีอาระเบีย ที่ซาอุฯ หักปากกาเซียน เอาชนะ ทีมฟ้าขาว ไปได้ 2 - 1

 

เป็นผลที่ถือว่า พลิกล็อค พอสมควรครับ เพราะ ทั้งชื่อชั้นตัวผู้เล่น, ประสบการณ์ในเวทีบอลโลก, อันดับ FIFA Word Ranking ก็สู้ไม่ได้ทุกมิติ (จาก Website FIFA ระบุว่า อาร์เจนตินาอันดับ 3 ในขณะที่ ซาอุฯ อยู่อันดับ 51)

 

แล้วสิ่งใด ที่ทำให้ซาอุฯ ชนะล่ะ จากทุกสำนักข่าวต่างประเทศรายงานตรงกันครับ ว่ากำลังใจและคำพูดปลุกใจและเท่าที่หาข้อมูล ไม่ได้มีปัจจัยอื่นเลยครับ จะอ้างว่าร้อนคงไม่ได้ เพราะสนามกีฬาก็ติดแอร์ ชนะได้เพราะกำลังใจล้วนๆ โดยทั้งๆที่ครึ่งแรก ซาอุฯ ยังตามอยู่ 0 - 1 แท้ๆ โคชของทีมชาติซาอุฯ Herve Renard ทำอะไรในห้องแต่งตัวนักกีฬา หรือ???

 

ภายหลังได้มีการเปิดเผย คลิปวิดีโอ ความยาว 1:54 นาที (Link ท้ายบทความ) เป็นจังหวะที่โคชHerve Renard พูดกับลูกทีม โดยใน Website Goal.com ได้ถอดคำพูด ออกมา มีดังนี้

 

เรามาทำอะไรที่นี่

ฉันไม่ได้หมายถึงว่า เมสซี่ครองบอลอยู่กลางสนาม พวกนายที่ตั้งรับอยู่จะหยิบมือถือขึ้นมาถ่ายรูปกับเมสซี่ ตามต้องการ เอางั้นเหรอ??”

เมสซี่ก็คนธรรมดานะเว้ย เขามีบอลแล้วพวกนายทำอะไรกันอยู่ (หมายถึงให้เข้าบีบ/เข้าเพรส/เข้าสกัด) พวกนายไม่รู้สึกกันเหรอว่าเราจะกลับมาได้ (กลับมาชนะ) ไม่รู้สึกกันสักนิดเลยหรอ ถึงปล่อยให้พวกเขา (อาร์เจนตินา) เล่นกันแบบผ่อนคลายขนาดนั้น

ไม่เอาน่า พรรคพวก!!! เอาหน่อย นี่คือบอลโลกนะเว้ย นี่บอลโลก!!! ทุ่มให้สุดตัวไปเลย!!!!!” (ถ้าแบบไทยก็ ซัดให้เต็มข้อ/มิดด้าม ไปเลย)

 

พอเข้าครึ่งหลังทีมชาติซาอุเล่นแบบลืมตาย เอาชนะ ทีมชาติ อาร์เจนตินา ไปได้ 2 - 1 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากครั้งนี้ คือ ต่อให้เป็นรองแค่ไหน ถ้ามีกำลังใจดี มีแรงผลักดัน ต่อให้เป็นทีมระดับโลกที่มี GOAT (Greatest off all time) อย่างเมสซี่อยู่ในทีมก็ตาม ก็สามารถเอาชนะได้

 

3.การเปลี่ยนแปลงต้องการอารมณ์ร่วม

ในหนังสือ Switch: How to Change Things When Change Is Hard ของผู้เขียน Chip Heath และ Dan Heath กล่าวไว้ว่า การจะเปลี่ยนแปลงอะไรซักอย่าง เป็นเรื่องยาก

 

เพราะสมองมนุษย์มี 2 ส่วน คือ

ส่วนเหตุผล = ส่วนที่มองผลประโยชน์ระยะยาว

ส่วนอารมณ์ = ส่วนที่มองความสบายระยะสั้น

 

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง สมอง 2 ส่วนนี้จะเริ่มทำงาน และ การต่อต้านจะเริ่มขึ้นจากส่วนอารมณ์ ยกตัวอย่าง ทุกคนรู้ว่าออกกำลังกายแล้วสุขภาพดี,หุ่นดี อันนี้คือส่วนเหตุผล แต่ เมื่อจะเปลี่ยนแปลงส่วนอารมณ์จะเริ่มทำงาน ไม่ว่าจะเป็น ความเหนื่อย, ความหิว ในหนังสือ บอกว่าส่วนนี้คือ โอรีโอ้ ที่อร่อยให้ความพึงพอใจระยะสั้น

 

ดังนั้นจะเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ ต้องการ 3 ข้อ คือ

1.เป้าหมายที่ชัดเจน อันนี้เป็นส่วนเหตุผล <<<<<< ข้อนี้ชัดๆ และบทความนี้ผมจะไม่พูดถึง

2.อารมณ์ร่วม อันนี้เป็นส่วน อารมณ์ <<<<<< บทความนี้พูดถึงหัวข้อนี้

3.การสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวย <<<<<< อันนี้ก็ไม่พูดถึง

 

ว่ากันว่า ถ้าวันไหนช้างอารมณ์ดี ควาญช้างสั่งให้ทำอะไรก็ทำตามอย่างง่ายดาย ไม่ต้องใช้ตะขอสับช้าง

 

ถ้าเปลี่ยนมาเป็น คนๆนั้นกำลังป่วยหนัก วิธีเดียวที่จะหายคือออกกำลังกาย ถ้าไม่ออกต้องตายต้องออก รับรองว่าคนๆนั้น ออกกำลังกายทุกวันอย่างมีวินัยแน่นอน นี่แล่ะครับ อารมณ์ร่วม

 

4.แล้วมันเกี่ยวอะไรกับสายงานวิศวกรรมเรา

ทีมชาติซาอุดิอาระเบีย เอาชนะ ทีมชาติอาร์เจนตินา ได้ เห็นกันชัดๆว่า เป็นส่วนของอารมณ์

 

ใช่ครับ แต่การเอามาเปรียบเทียบกับชีวิตจริงของพวกเรานั้น ไม่ง่ายเลย หากต้องการทำซักโครงการนึงให้สำเร็จ เช่น CMMS ในส่วนของเหตุผล ทุกคนย่อมรู้ว่าปลายทางดีว่า สายงานเราจะดีอย่างไรถ้ามันสำเร็จ

 

แต่ส่วนของอารมณ์มาเต็มแน่นอน ไหนจะงานตามแผนที่ต้องบรรลุ, ไหนจะมีรายงานต้องทำ, คู่มือก็ต้องเขียน กว่าจะไปถึงจุดนั้น การต่อต้านในใจมาแน่นอน

 

ดังนั้น สิ่งที่เหล่าหัวหน้างานทั้งหลาย สามารถสนับสนุนได้ คือ การสร้างอารมณ์ร่วมให้กับทีมงาน

อารมณ์ร่วม สร้างบรรยากาศ มีได้หลายแบบ ได้แก่

 

เพิ่ม Emphaty: Emphaty อาจหมายถึงใจเขา ใจเราก็ได้นะครับ อันนี้ไม่มีกระบวนท่าตายตัว แค่นึกเสมอว่า ถ้าเป็นเรา เราจะรู้สึกอย่างไร

 

Nobody Perfect: ตรงตัวครับ ไม่มีใครเกิดมาสมบูรณ์แบบ ปล่อยทีมไปทำงานกัน แน่นอนว่าย่อมไม่ถูกต้อง 100% เพราะเป็น ลูกทีมไม่ใช่ตัวเราไปทำเอง ยอมรับว่า ต้องมีผิด แล้ว ตบๆให้เข้าร่องเข้ารอย

 

ฟัง: คู่สนทนาฝ่ายตรงข้าม, ทีมงาน, ลูกน้อง อาจมีข้อมูลที่ถูก หรือ อาจจะผิด ก็ได้ บางที่เราอาจใจร้อน อยากรีบบรรลุเป้าหมายไม่ทันได้ฟัง แต่การฟังเพื่อให้ได้ข้อมูล, ความคิดของทีมงาน ว่า เขาคิดอย่างไร ต่อให้ผิด ก็จะได้รู้กันว่า ผิดอย่างไรหลงทางไปไกลแค่ไหน ลองฟังดูความคิด แล้วแนะนำย่อมสร้างบรรยากาศได้ดีกว่า

 

ทีมงานไม่ใช่ ม้าศึก: ถ้า KPI ได้ตามเป้าหมาย แต่ทีมพัง เราควรจะเลือกอะไรดี ระหว่างทีมหรือ KPI ใช่ครับ KPI สำคัญก็จริง ส่งผลต่อเงินเดือนและโบนัส แต่ถ้าแลกมาด้วยกำลังใจที่ถูกบั่นทอน สุขภาพที่เสียหาย แล้วจะมีประโยชน์อะไร เมื่อผลผลิตนั้นแยกไม่ขาดจากความเป็นอยู่ที่ดีของทีมงานแล้ว อย่าให้ KPI เดิมที่แปลมาจาก “Key Performance Indicator” กลายเป็นว่ามาจาก Killing Productivity Indicator” เลย

 

<img src='https://www.i-pic.info/i/NenW298132.jpg'></a>

 

5.จะส่งต่อความรัก หรือ จะส่งต่อความเกลียดชัง

ทำดีไม่มีคำชม ทำพลาดทีนึง ด่าเหมือนไปฆ่าใครมาคำนี้ได้ยินบ่อยๆ ในวงการการทำงานของไทย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการทำงานที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นในสายงานเราสักเท่าไรเลย

 

ปี 2007 กลุ่มวิศวกรซอฟต์แวร์ ของ Facebook นำโดย Andrew Bosworth และ Justin Rosenstein ได้คิดค้นวิธีที่จะทำให้ ผู้ใช้งานชื่นชมกันได้ง่ายขึ้น รวมทั้ง สามารถเพิ่มการเข้าถึง และ ความคิดเห็นได้ด้วย โดยมีแนวความคิด คือ “Make it easy to spread the love (ทำให้มันง่ายที่จะส่งต่อความรัก)”

 

ในการออกแบบในตอนแรก มีรูปที่ถูกเสนอมา ไม่ว่าจะเป็น

  • ดาว แต่ไม่ผ่าน เพราะเหมือนคะแนน Review
  • บวก ไม่ผ่าน เพราะมีบวกแล้วคนจะถามหา ลบ
  • ยกนิ้ว ในช่วงแรกก็ยังไม่ผ่าน เพราะกลัววัฒนธรรมที่แตกต่างกันในโลก

 

สุดท้ายได้เป็นปุ่มที่ชื่อว่า “Awesome” หรือสุดเจ๋งแทน และโครงการนี้มีชื่อว่า “Props” ผ่านการออกแบบ และ ทดลองกันอย่างยาวนาน ร่วมปี ระหว่างนั้น ปุ่มนี้ได้ชื่อใหม่ว่า “Like” และแม้กระทั่งคุณพรี่ Mark Zuckerberg CEO ก็ยังไม่ให้ผ่านเลย

 

<img src='https://www.i-pic.info/i/0gtc298133.jpg'></a>

 

โดยโครงการนี้ ได้รับฉายาว่าโครงการที่ถูกสาบแต่จนแล้วจนรอดเจ้าของโครงการก็ไม่ยอมแพ้พิสูจน์จนได้ว่า การมีปุ่ม Like ทำให้ เพิ่มการมองเห็น, เพิ่มการเข้าถึง และ เพิ่มจำนวนความคิดเห็นสุดท้าย Facebook Implement ปุ่ม Like ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2010 (ปล่อยก่อนวันแห่งความรักพอดี)

 

Facebook มีปุ่ม “Like” แล้ว ทำไมไม่มีปุ่ม “Dislike”

 

ใน Facebook มีคนคิดครับ แต่ทำอย่างไรก็ไม่ผ่าน เพราะคนแบบไหนกัน ที่อยากจะส่งต่อความเกลียดชัง จริงหรือเปล่าครับ

 

ส่วนที่ Google มีระบบการชมเชย “GThanks” โดยให้พนักงานเขียนชมเชยกันอย่างอิสระ

 

จากการสำรวจของ Gallup (บริษัทที่ปรึกษาด้านบุคคล) ระบุว่าการชื่นชมกัน เป็นเครื่องมือเพิ่มความผูกพันธ์กับพนักงานที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ ถูกนำไปใช้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น

 

วันนี้คุณชมเชยทีมงานแล้วหรือยัง?

 

6.บทสรุป

อาจเป็นไปได้ว่า พี่ๆหัวหน้างานนั้นหวังดีครับ หวังดีอยากให้ทีมงาน เก่งขึ้น ดีขึ้น ฉลาดขึ้นเหมือนกับตัวพี่ๆ บางทีอาจมองหาข้อด้อยของลูกน้อง ได้เก่งกว่าข้อดีแต่คนเราไม่เหมือนกันครับ ซ้ำร้าย หากงานๆนั้น แลกมาด้วยความพยายามที่หัวหน้าอาจจะมองข้าม

 

เพราะมุ่งผลลัพธ์จนเกินไป แสดงออกถึงการไม่มีหัวใจลืมใส่ความเป็นมนุษย์ลงไป

 

เปลี่ยนจากงานของน้องนี่มันแย่มากนะมาเป็นพี่ชื่นชมในความพยายามนะ พี่ขอช่วยเสริมนิดนึงละกัน” ดีกว่า และ ถ้าไม่มีกำลังใจ แล้วแบบนี้งานใหญ่ที่รออยู่ จะสำเร็จได้อย่างไรกัน เพราะพนักงานเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าหาใช่เพียงเบี้ยตัวนึงที่จะหาใครมาแทนเมื่อไรก็ได้

 

ขอบคุณครับ

 

#Emphathy

 

 

References

Saudi Arabia's Crazy Half Time Speech vs Argentina

‘Take a picture with Messi!’ - What Saudi Arabia boss Renard said in rousing half-time team talk that inspired win over Argentina | Goal.com United Arab Emirates

Men's Ranking

Switch

What's the history of the “Awesome Button” (that eventually became the Like button) on Facebook?

Employee Recognition: Low Cost, High Impact

 

 

 

This topic was modified 1 year ago by ณัฐดนัย ซื้อตระกูล